สกุลเงินผู้วิเศษ |
ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )
สกุลเงินผู้วิเศษ |
Sep 1 2023, 10:09 AM
โพสต์
#1
|
|
ผู้ช่วยบรรณารักษ์ | นักเรียนฮอกวอตส์ปี 1 กลุ่ม : บรรณารักษ์ โพสต์ : 66 เข้าร่วม : 16-October 21 หมายเลขสมาชิก : 58,267 สายเลือด : เลือดบริสุทธิ์ เหรียญตรา หีบสัมภาระ ไม้กายสิทธิ์ ไม้: ออลเดอร์ | ยาว: 12" แกนกลาง: ขนนกฟีนิกซ์ ความยืดหยุ่น: หวดได้เหมือนแส้ สัตว์เลี้ยง ผู้พิทักษ์ |
Wizarding Currency สกุลเงินผู้วิเศษ QUOTE พวกเหรียญทองเรียกว่าเกลเลียน เหรียญเงินสิบเจ็ดซิกเกิ้ลเท่ากับหนึ่งเกลเลียน และยี่สิบเก้าคนุตส์เป็นหนึ่งซิกเกิ้ล ศิลาอาถรรพ์ บ.5 น.96 ตรอกไดแอกอน สกุลเงินผู้วิเศษ เป็นระบบมาตรฐานเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขายของโลกเวทมนตร์ ผู้วิเศษยินยอมที่จะใช้สกุลเงินแม้จะมีความซับซ้อน เนื่องจากพวกเขาสามารถคำนวณได้อย่างง่ายดายด้วยเวทมนตร์ สกุลเงินของผู้วิเศษมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ข้อมูลทั่วไป นอกจากศิลาอาถรรพ์ผู้วิเศษยังไม่พบวิธีการอื่นที่สามารถผลิตหรือเปลี่ยนโลหะใด ๆ ให้กลายเป็นทองคำบริสุทธิ์ได้ มีความพยายามในการปลอมแปลงเงินตราขึ้นมาด้วยการใช้คาถาพูนทวี1 ทำให้วัตถุที่ถูกเสกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แต่วัตถุเหล่านั้นก็ไร้มูลค่าและจะสลายไปอยู่ดี ก่อนที่สกุลเงินสมัยใหม่จะถูกคิดค้นและพัฒนามาเป็นโลหะอย่างในปัจจุบัน พ่อมดยุคดึกดำบรรพ์เริ่มจากการใช้ใบแฟนซีนิฟเฟลอร์2 ซึ่งมีลักษณะแวววาวเป็นประกายเหมือนทองแดงในการแลกเปลี่ยน ประเทศอังกฤษ สกุลเงินของผู้วิเศษในอังกฤษประกอบด้วยเหรียญสามชนิด เรียงตามลำดับมูลค่าจากมากไปน้อย ได้แก่ เกลเลียน, ซิกเกิ้ล และคนุตส์ ทำขึ้นจากทอง, เงิน และบรอนซ์ตามลำดับ ที่ขอบเหรียญแต่ละเหรียญจะมีชุดตัวเลขลำดับที่ประทับไว้ ซึ่งเป็นหมายเลขของก็อบลินที่หล่อเหรียญชุดนั้นขึ้น ประเทศสหรัฐอเมริกา คาดว่าถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยมีลักษณะเป็นเหรียญแปดเหลี่ยมและเหรียญกลม มีชื่อเรียกว่า ดรากอต และ สพริงก์ ประเทศฝรั่งเศส สกุลเงินที่ใช้ในฝรั่งเศสคือเบอซอง สัญลักษณ์ สกุลเงินของผู้วิเศษอังกฤษบางครั้งจะแสดงด้วยชุดสัญลักษณ์ต่อไปนี้ (เกลเลียน) (ซิกเกิ้ล) (คนุตส์) อัตราแลกเปลี่ยน 1 คนุตส์ เท่ากับ 1 ซิกเกิ้ล เท่ากับ 1 เกลเลียน เท่ากับ 1 คนุตส์ 29 คนุตส์ 493 คนุตส์ 0.03448 ซิกเกิ้ล 1 ซิกเกิ้ล 17 ซิกเกิ้ล 0.002028 เกลเลียน 0.05882 เกลเลียน 1 เกลเลียน สกุลเงินปลอม เหรียญของผู้วิเศษสามารถปลอมแปลงได้ด้วยคาถาพูนทวีแต่คาถาจะเสื่อมลงเมื่อเวลาผ่านไป ทองเลเปรอคอน เกลเลียนที่ทำขึ้นจากทองเลเปรอคอนเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปตามเกมการแข่งขันควิดดิชที่มีเลเปรอคอน มาสคอตประจำทีมชาติไอริชปรากฏตัว เหรียญทองพวกนี้ถูกทำขึ้นเพื่อใช้เป็นการชั่วคราวเท่านั้น และจะกลายเป็นอากาศเมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่ชั่วโมง ถึงแม้ว่าเหรียญที่ทำขึ้นจากทองเลเปรอคอนจะเหมือนเหรียญจริงแทบทุกประการ แต่ก็อบลินผู้เชี่ยวชาญที่กริงกอตส์ สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเหรียญจริงกับเหรียญปลอมได้อย่างแม่นยำ รูเบอัส แฮกริดใช้เหรียญทองเลเปรอคอนสาธิตความสามารถในการขุดหาวัตถุแวววาวของนิฟเฟลอร์ ให้กับนักเรียนในชั้นเรียนสัตว์วิเศษ ลูโด แบ็กแมนเคยนำทองเลเปรอคอนจ่ายให้กับเฟร็ดและจอร์จ วีสลีย์ หลังแพ้เดิมพันที่งานควิดดิชเวิลด์คัพ ส่งผลให้เขาถูกข่มขู่แบล็กเมล์ แต่สุดท้ายฝาแฝดวีสลีย์ก็ไม่ได้รับเงินพนันคืนจากลูโดอยู่ดี รอน วีสลีย์เคยใช้ทองเลเปรอคอนจ่ายค่ากล้องอเนกทัศน์ที่แฮร์รี่ พอตเตอร์ซื้อให้เขาก่อนการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพโดยไม่รู้ตัว เหรียญปลอมลงคาถา เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ทำเหรียญเกลเลียนปลอมขึ้นและแจกจ่ายให้กับกองทัพดัมเบิลดอร์ สำหรับใช้สื่อสารวันและเวลานัดพบครั้งต่อไปกับสมาชิก โดยเหรียญปลอมทั้งหมดของเฮอร์ไมโอนี่ถูกเชื่อมโยงไว้ด้วยคาถาแปรรูป ดังนั้นเมื่อแฮร์รี่เปลี่ยนหมายเลขบนเหรียญของเขา เหรียญอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนเลียนแบบเหรียญของแฮร์รี่ (เหรียญจะร้อนทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น) เดรโก มัลฟอยได้แนวคิดการใช้เหรียญปลอมมาจากเฮอร์ไมโอนี่ โดยเขาได้ใช้มันเพื่อติดต่อสื่อสารกับมาดามโรสเมอร์ทา ที่ตกอยู่ใต้คำสาปสะกดใจในช่วงปีการศึกษา 19961997 นิรุกติศาสตร์ เกลเลียน หรือ Galleons เป็นคำที่ใช้เรียกเรือสมบัติของสเปนที่มักถูกโจรสลัดบุกโจมตี ส่วนคำว่า ซิกเกิ้ล หรือ Sickle มาจาก เชเกล (₪) ซึ่งเป็นภาษากรีกโบราณใช้สำหรับเรียกสกุลเงินของยูดาห์ ตามที่วิลเลียม ทินเดลกล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ที่เขาแปลขึ้น และสุดท้าย Knut หรือ Canute มีที่มาจากชื่อของกษัตริย์แห่งอังกฤษในศตวรรษที่ 11 เชิงอรรถ QUOTE 1 คาถาพูนทวี (มีคำร่ายว่า เจมิโน) เป็นคาถาประเภททั่วไป ใช้ทำซ้ำหรือสร้างวัตถุที่เหมือนกับต้นฉบับ ด้วยลักษณะทางกายภาพที่เหมือนกันแทบทุกประการ คาถานี้ยังสามารถใช้เพื่อสาปแช่งวัตถุให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นทวีเมื่อสัมผัสโดนซ้ำ ๆ ที่รู้จักกันในชื่อคำสาปเจมิโน 2 เป็นพืชหายากที่มีคุณสมบัติวิเศษ ใบของมันมีความแวววาวส่องประกายราวกับทองแดง ชื่อของพืชชนิดนี้ถูกตั้งขึ้นตามลักษณะที่ดึงดูดนิฟเฟลอร์ สัตว์วิเศษที่มีความผูกพันกับสิ่งของแวววาว ข้อมูลจาก Harry Potter Wiki รวบรวมโดย ฮอกวอตส์ไทย (http://hogwartsthai.com) หากนำข้อมูลนี้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลนี้ไปเผยแพร่ กรุณาให้เครดิตฮอกวอตส์ไทยด้วย |
|
|
Lo-Fi ; ประหยัดแบนวิธ,โหลดเร็ว | เวลาในขณะนี้: 11th November 2024 - 12:49 AM |