ควิดดิชเป็นธุรกิจและกีฬาที่ผู้วิเศษเล่นกันอย่างจริงจัง แต่เนื่องด้วย บทบัญญัติปกปิดความลับพ่อมดแม่มดนานาชาติ ทำให้กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ต้องจำกัดจำนวนการแข่งขันในแต่ละปี ในขณะที่การแข่งขันระหว่างทีมสมัครเล่นได้รับอนุญาตให้มีได้ไม่จำกัด ตราบเท่าที่การเล่นเป็นไปตามข้อแนะนำที่เหมาะสม ทีมควิดดิชอาชีพถูกจำกัดจำนวนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1674 เมื่อมีการจัดตั้งควิดดิชลีกขึ้น เวลานั้นทีมควิดดิชที่ดีที่สุดสิบสามทีมในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมเล่นในลีก ส่วนทีมนอกเหนือจากนี้ได้ถูกขอร้องให้ยุบและยกเลิกไป โดยทั้งสิบสามทีมนี้ก็ยังคงแข่งขันชิงถ้วยลีกกันในทุกปี อันได้แก่

1. โฮลี่เฮด ฮาร์ปีส์ (Holyhead Harpies) ทีมเก่าแก่มากจากแคว้นเวลส์ (ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1203) เป็นทีมที่มีแต่ผู้หญิงหรือแม่มดเท่านั้น เสื้อคลุมของฮาร์ปี้ส์เป็นสีเขียวแก่ มีรูปเล็บสัตว์สีทองอยู่ที่หน้าอก ชัยชนะของทีมฮาร์ปีส์ต่อทีมไฮเดลเบิร์ก แฮเรียส์ เมื่อปี ค.ศ. 1953 เป็นที่ ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นการแช่งขันควิดดิชชั้นเยี่ยม เกมหนึ่งเท่าที่เคยมีการแข่งขันมา การแข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงเจ็ดวัน และยุติลงเมื่อซีกเกอร์ของ ทีมฮาร์ปีส์ คือกลินนิส กริฟฟิทส์ จับลูกสนิชได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน แฮเรียส์ รูดอลฟ์ แบรนด์ กัปตันของทีมกระทำสิ่งที่เลื่องลือ กันไปทั่ว เขากระโดดลงจากไม้กวาดและขอแต่งงานกับเกวนโดลิน มอร์แกน กัปตันทีมฝ่ายตรงข้าม แต่เธอใช้ไม้กวาดคลีนสคีปหมายเลขห้าของเธอ ฟาดหัวเขาจนหมดสติไป

2. ไพรด์ ออฟ พอร์ตทรี (Pride of Portree) ทีมจากเกาะสกาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1292 กองเชียร์มักเรียกผู้เล่นทีมนี้ว่า เดอะ ไพรดส์ โดยนักกีฬาจะสวมเสื้อสีม่วงเข้ม มีรูปดาวสีทองประดับที่หน้าอก เชสเซอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ คาทรีโอน่า แมกคอร์มิก เป็นกัปตันทีมที่ชนะเลิศถ้วยลีกสองครั้งในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1960 และเล่นให้กับทีม ชาติสกอตแลนด์ถึงสามสิบหกครั้ง แมกันลูกสาวของเธอปัจจุบันนี้เล่นเป็นคีปเปอร์ให้กับทีมนี้

3. แอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส (Appleby Arrows) ทีมจากภาคเหนือของอังกฤษทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1612 เสื้อคลุมประจำทีมเป็นสีน้ำเงินอ่อน และมีตรารูปลูกธนูสีเงินประดับไว้ แฟนๆของแอร์โรว์ส เห็นพ้องต้องกันว่าช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมคือตอนที่พวกเขาเอาชนะทีมวรัตซ่า วัลเจอส์ แชมป์หลายสมัยของยุโรปได้เมื่อปี ค.ศ. 1932 การ แข่งขันครั้งนั้นใช้เวลาถึงสิบหกวัน เล่นกันกลางฝนและหมอกหนาทึบ ผู้สนับสนุนสโมสรนี้มีธรรมเนียมเก่าแก่คือ ใช้ไม้กายสิทธิ์ยิงลูกธนูออกไปใน อากาศทุกครั้งที่เชสเซอร์ฝ่ายเขาทำคะแนนได้ แต่ธรรมเนียมนี้ถูกกองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ห้ามในปี ค.ศ. 1894 เมื่อลูกธนูลูกหนึ่งแทง ทะลุจมูกของกรรมการชื่อนูเจ้นต์ พอตส์ ทีมแอร์โรว์สนี้เป็นคู่ปรับคู่อาฆาตกับทีมวิมบอร์น วอพส์มาต่อเนื่องยาวนาน

4. บัลลี่แคสเซิล แบตส์ (Ballycastle Bats) ทีมควิดดิชที่มีชื่อเสียงที่สุดของไอร์แลนด์เหนือ ชนะถ้วยควิดดิชลีกนับถึงวันนี้ได้ทั้งหมดยี่สิบเจ็ดครั้ง ทำให้ทีมนี้เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของลีก พวกแบตส์ใส่เสื้อคลุมสีดำมีรูปค้างคาวสีแดงเข้มที่หน้าอก สัตว์เลี้ยงประจำทีมที่มีชื่อเสียงมากคือ บาร์นี่ค้างคาวผลไม้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะค้างคาวที่เล่นหนังโฆษณาบัตเตอร์เบียร์ (บาร์นี่บอกว่า ‘ผมคลั่งไคล้บัตเตอร์เบียร์’)

5. คาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ (Caerphilly Catapults) ทีมแคททะพัลส์จากแคว้นเวลส์นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1402 นักกีฬาสวมเสื้อคลุมลายทางสีเขียวอ่อนสลับแดงเลือดหมู ประวัติที่เลื่องลือ ของทีมสโมสรนี้คือได้ถ้วยลีกถึงสิบแปดครั้งและชัยชนะที่มีชื่อเสียง ได้แก่ครั้งที่คว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพในปี ค.ศ. 1956 โดยเอาชนะทีมคารัสจ็อก ไคตส์ จากนอร์เวย์ได้ในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของทีมคือ ‘ได ลูเอลเลน ตัวอันตราย’ เขาถูกตัวไคเมรากินระหว่างพักผ่อนที่ เกาะมิคานอส ประเทศกรีซ จากการตายของไดนี้เอง ส่งผลให้ทางการเวลส์กำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติ เพื่อให้พ่อมดแม่มดชาวเวลส์ทุกคนได้ระลึกถึงเขา ปัจจุบันนี้ เมื่อสิ้นสุดฤดูการแข่งขันของทุกปี จะมีการมอบเหรียญที่ระลึกถึง ‘ได ตัวอันตราย’ เป็นรางวัลให้แก่ผู้เล่นในควิดดิชลีกที่เล่นได้ตื่นเต้น เร้าใจและบ้าบิ่นเสี่ยงตายที่สุดในการแข่งขัน

6. ชัดลีย์ แคนนอนส์ (Chudley Cannons) อาจกล่าวได้ว่าวันเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ของทีมชัดลีย์ แคนนอนส์ ได้ผ่านเลยไปเสียแล้ว แต่สำหรับแฟนคลับที่อุทิศตนเหนียวแน่นให้แก่ทีมนั้น พวกเขายังมีความหวังว่าทีมจะมีโอกาสกลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกหน ทีมแคนนอนส์ชนะเลิศถ้วยลีกถึงยี่สิบหน แต่ครั้งสุดท้ายก็นานตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ.1892 และการเล่นของพวกเขาตลอดศตวรรษที่แล้วนั้นไม่เร้าใจเลย ผู้เล่นชัดลีย์ แคนนอนส์สวมเสื้อคลุมสีส้มสด มีตรารูปลูกปืนใหญ่กำลังพุ่งเร็วจี๋ ด้านหลังเป็นรูปตัวอักษร ช สีดำสองตัว คำขวัญประจำสโมสรถูกเปลี่ยนเมื่อปี ค.ศ. 1972 จากเดิมที่ว่า ‘เราจะพิชิตแน่’ มาเป็น ‘หวังว่าเราจะชนะ แต่ก็สุดแล้วกรรมก็แล้วกัน’

7. ฟัลมัท ฟอลคอนส์ (Falmouth Falcons) ผู้เล่นฟอลคอนส์สวมเสื้อคลุมสีเทาเข้มสลับขาว มีรูปหัวนกเหยี่ยวประดับที่หน้าอก ฟอลคอนส์ขึ้นชื่อว่าเล่นแรง ชื่อเสียงนี้ยิ่งเป็นที่เชื่อหนักแน่นมากขึ้น ด้วยฝีมือของบีตเตอร์ชื่อก้องโลกของทีมคือเควิน และคาร์ล บรอดมัวร์ ซึ่งเล่นให้สโมสรระหว่างปี ค.ศ. 1958 ถึง 1969 กระบวนท่าเล่นพลิกแพลง ของทั้งสองส่งผลให้ กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ต้องสั่งให้พวกเขาพักการเล่นไม่น้อยกว่าสิบสี่หน คำขวัญของสโมสรนี้คือ ‘เอาชนะให้ได้ แต่ถ้าไม่ชนะ ก็ทำให้หัวแตกหลายหัว’

8. เคนแมร์ เคสเตรลส์ (Kenmare Kestrels) ทีมสโมสรไอริชนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1291 และเป็นที่นิยมชมชื่นไปทั่วโลก จากการแสดงที่องอาจของบรรดาเลเปรอคอนตัวนำโชคประจำทีม และจากการเล่นพิณที่ไพเราะมากของพวกผู้สนับสนุนทีมทั้งหลาย ทีมเคสเตรลส์สวมเสื้อคลุมสีเขียวมรกตที่หน้าอกมีตัวอักษร ค สีเหลืองสองตัวหัน หลังชนกัน ดาเรน โอแฮร์ คีปเปอร์ของเคสเตรลส์ ระหว่างปี ค.ศ. 1947-1960 ได้เป็นกัปตันทีมชาติไอริชสามหน และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ ท่าหัวเหยี่ยวรุกฆาตสำหรับพวกเชสเซอร์

9. มอนโทรส แมกไพส์ (Montrose Magpies) ทีมแมกไพส์เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ ควิดดิชลีกของเกาะบริเตนและไอร์แลนด์ เพราะชนะเลิศถึงสามสิบสองครั้ง ทั้งยัง เป็นแชมป์ยุโรปสองสมัย ทีมแมกไพส์จึงมีแฟนอยู่รอบโลก ผู้เล่นที่เก่งกาจของทีมมีมากมาย รวมทั้งซีกเกอร์ ยูนิส มารี่ (ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1942 ) ซึ่ง ครั้งหนึ่งเคยยื่นคำร้องขอให้ใช้ ‘ลูกสนิชที่เร็วกว่านี้ เพราะว่านี่มันง่ายเกินไป’ และแฮมมิช แมกฟาลัน (กัปตันช่วงปี ค.ศ. 1957-68) ซึ่งเมื่อเลิกจากอาชีพ ควิดดิชที่ประสบความสำเร็จมากแล้วก็ไปทำงานที่มีชื่อเสียงเด่นพอๆ กันในฐานะเป็นหัวหน้ากองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์ ทีมแมกไพส์สวม เสื้อคลุมสีดำขาว มีรูปนกแมกไพหรือนกกางเขนตัวหนึ่งที่หน้าอก และอีกตัวที่ด้านหลังเสื้อ

10. พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด (Puddlemere United) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1163 พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด เป็นทีมที่เก่าแก่ที่สุดในลีก พัดเดิลเมียร์ชนะเลิศถึงยี่สิบสองครั้งและมีชัยชนะได้ครองยูโรเปี้ยนคัพสอง ครั้งเป็นเกียรติประวัติของทีม เพลงประจำสโมสรมีชื่อว่า ‘ตีบลัดเจอร์ไปไห้ไกลสิหนุ่มๆ แล้วโยนสุ่มลูกควัฟเฟิลมาทางนี้’ เซลเลสทีน่า วอร์เบ็กแม่มด สาวนักร้องเพิ่งอัดเพลงประจำทีมนี้ไปเมื่อไม่นานมานี้เอง เพื่อขายหารายได้ให้กองทุนโรงพยาบาลวิเศษเซนต์มังโกเพื่อผู้ป่วยและบาดเจ็บ ผู้เล่นของ พัดเดิลเมียร์ สวมเสื้อคลุมสีน้ำเงินแก่ มีตราประจำสโมสรรูปหญ้าแฝกสีทองสองมัดไขว้กัน

11. ทัดชิล ทอร์เนโดส์ (Tutshill Tornados) ทีมทอร์เนโดส์สวมเสื้อคลุมสีฟ้า มีตัวอักษร ท สีน้ำเงินเข้มสองตัวอยู่บนหน้าอกและข้างหลัง ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1520 แต่ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จที่ ยิ่งใหญ่ของทีมอยู่ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อซีกเกอร์ชื่อรอดดริก พลัมป์ตัน เป็นกัปตันทีมพวกเขาชนะได้ถ้วยลีกถึงห้าครั้งติดต่อกันเป็น เป็นประวัติการณ์ของทั้งเกาะบริเตนและไอร์แลนด์เลยทีเดียว รอดดริก พลัมป์ตัน เล่นเป็นซีกเกอร์ให้ทีมชาติอังกฤษยี่สิบสองครั้ง และทำสถิติใน ประวัติศาสตร์ของเกาะบริเตนโดยจับลูกสนิชได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยมีการแข่งขันกันมา (สามวินาทีครึ่ง แข่งขันกับทีมคาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ ในปี ค.ศ. 1921)

12. วิกทาวน์ วันเดอเรอส์ (Wigtown Wanderers) ทีมที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนนี้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1422 โดยลูกทั้งเจ็ดคนของพ่อมดพ่อค้าเนื้อ ชื่อวอลเตอร์ พาร์กิ้น ใครๆ พากันกล่าวว่าทีมของพี่ น้องผู้ชายสี่คนและผู้หญิงสามคนนี เป็นทีมที่น่าเกรงขามมากและไม่ค่อยจะแพ้ใครเสียด้วย ทั้งนี้เล่ากันว่า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทีมคู่ต่อสู้รู้สึกหวาดหวั่น ที่เห็นคุณพ่อวอลเตอร์ยืนอยู่ข้างสนาม มือหนึ่งถือไม้กายสิทธิ์อีกมือถือมีดปังตอแล่เนื้อ หลายศตวรรษที่ผ่านมา มีเชื้อสายของตระกูลพาร์กิ้นนี้เล่นอยู่ ในทีมวิกทาวน์เสมอๆ และเพื่อระลึกถึงจุดเริ่มต้นของทีม ผู้เล่นจึงสวมเสื้อคลุมสีแดงเหมือนเลือด มีรูปมีดปังตอสีเงินที่หน้าอก

13. วิมบอร์น วอพส์ (Wimbourne Wasps) นักกีฬาสวมเสื้อคลุมลายขวางสีเหลืองสลับดำ มีรูปตัวต่ออยู่บนหน้าอก ทีมนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1312 ทีมวอพส์ชนะถ้วยลีกสิบแปดครั้ง และได้ เข้ารอบรองชนะเลิศยูโรเปี้ยนคัพสองครั้ง เชื่อกันว่าพวกเขาได้ชื่อนี้มาจากเหตุการณ์ร้ายกาจซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขันกับ ทีมแอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบีตเตอร์ของทีมบินผ่านต้นไม้ที่อยู่ริมสนาม เขาสังเกตเห็นรังตัวต่อยู่ท่ามกลางกิ่งไม้ จึงตีรังต่อนั้นไปทางซีกเกอร์ ของทีมแอร์โรว์ส ซีกเกอร์คนนั้นถูกต่อต่อยปวดแสบปวดร้อนไปทั่วตัวจนต้องออกจากการแข่งขัน วิมบอร์น จึงชนะและตั้งแต่นั้นมาก็รับเอาตัวต่อมา เป็นตรำโชคของทีม เป็นประเพณีว่าแฟนๆ ของทีมวอพส์ (รู้จักกันอีกชื่อว่า สติงเกอร์) จะทำเสียงหึ่งๆ ดังลั่นเพื่อก่อกวนสมาธิของเชสเซอร์ฝ่ายตรง ข้ามเมื่อกำลังจะโยนลูกโทษ

Source : Pottermore & Quidditch Through the Ages

Published by Film TK

ฮอกวอตส์ไทย "สานต่อจินตนาการแฮร์รี่ พอตเตอร์" เว็บไซต์สำหรับแฟนคลับแฮร์รี่ พอตเตอร์ และทุกๆคนที่หลงไหลในโลกแห่งแฮร์รี่ พอตเตอร์ เราจำลองการเรียนการสอนและกิจกรรมตามแบบฉบับฮอกวอตส์ ก่อตั้งมายาวนานกว่า 1 ทศวรรษ

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *