ช่วยเหลือ - ค้นหาข้อมูล - รายชื่อสมาชิก - ปฏิทิน
อ่านเว็บบอร์ดในเวอร์ชั่นเต็ม : (มังกรน้อย)แนะนำหนังสืออ่านนอกเวลา : NEWYORK 1ST TIME EP.1
HOGWARTS THAI - ฮอกวอตส์ไทย > นอกเรื่อง > หนังสือและวรรณกรรม
Dynne Wang

Contents


THE REAL AlASKA
Systematized Thinking
NEWYORK 1ST TIME
Dynne Wang
QUOTE

NEWYORK 1ST TIME
นิวยอร์กตอนแรกๆ, ธนชาติ ศิริภัทราชัย, สำนักพิมพ์แซลมอน



Forward
การเขียนคำนำสำนักพิมพ์เต็มไปด้วยความตื่นเต้น

ครั้งแรกก็อย่างนี้ กลัวว่ามันจะไปกระทบกระเทือนการเล่าเรื่องของ
ผู้เขียน กลัวมันจะไปทำลายอรรถรสของผู้อ่าน กลัวจะเขียนเยิ่นเย้อ
จนน่ารำคาญ แต่ใจหนึ่งเราก็อยากเขียนคำนำจนตัวสั่นเพราะเมื่อมา
ถึงขั้นตอนนี้มันมีความหมายว่าหนังสือที่เราบ่มเพาะใกล้เสร็จสมบูรณ์
พร้อมแหวกว่ายสู่มือผู้อ่าน ขอเพียงแค่เราร่ายตัวอักษรในพื้นที่ตรงนี้
เสร็จเท่านั้น (กดดันหนักกว่าเดิม)

ที่ว่ามาคือความรู้สึกครั้งแรกของการเขียนคำนำสำนักพิมพ์

ครั้งแรกที่คุยกับ ธนชาติ ศิริภัทราชัย เขาบอกเราว่าเป็นคนจริงจัง
พูดอะไรก็ขึงขัง อย่าหวังว่าเขาจะเล่นมุกเรี่ยราดหรือปล่อยมุกตลอด
ห้านาที เพราะเขา (ย้ำอีกทีว่า) เป็นคนจริงจัง

เราไม่รู้ว่าวันนั้นเขาพูดจริงหรือเล่นมุก แต่หลังจากนั้นเขาบอกว่า
อยากทำหนังสือเกี่ยวกับนิวยอร์ก—มหานครแห่งแสงสี และตอนนี้
เป็นมหานครที่ธนชาติอาศัยอยู่

ความที่เขาเป็นคนจริงจัง (เราเป็นพวกเชื่อคนง่าย) เราจึงบอกเขาไป
ว่าถ้าเป็นหนังสือไกด์บุ๊คเราคงไม่ต้องการ เราเป็นกลุ่มคนที่ไม่ถนัด
ทำหนังสือนำเที่ยว และเราก็คงไม่อยากรู้เรื่องราวของสถานที่อย่าง
เทพีเสรีภาพ ฟิฟธ์อเวนิว หรือไชน่าทาวน์ เพราะเราไม่ใช่มนุษย์-
ต่างดาวที่ชอบไปพังแลนด์มาร์กของมหานครที่ไม่มีวันหลับแห่งนี้

หลังจากนั้นไม่นาน ธนชาติส่งต้นฉบับมาให้ชุดใหญ่ บอกว่านี่คือ
เรื่องราวในนิวยอร์กแบบที่เรา (น่าจะ) ต้องการ

ครั้งแรกในนิวยอร์ก คือแกนหลักของหนังสือเล่มนี้

เราเปิดต้นฉบับเขาอ่านเป็นครั้งแรกด้วยความตื่นเต้น

อ่านไปได้สองย่อหน้า เราคิดในใจว่าธนชาติกำลังทำอะไร
ใครจะไปอยากรู้เรื่องราวประสบการณ์ครั้งแรกของโนบอดี้
อินไทยแลนด์ที่เก็บกระเป๋าไปเรียนต่อในนิวยอร์ก ต่อให้
ใครไปอยู่ต่างประเทศมันก็มีเรื่องราวครั้งแรกกันทั้งนั้น
แล้วเอาเข้าจริงประสบการณ์พวกนี้อยู่เมืองไทยก็ประสบ
พบเจอได้เหมือนกัน!?

อ่านไปได้จนจบบท เราขอถอนคำพูด

ประสบการณ์ครั้งแรกของเขาน่าสนใจอย่างไม่น่าเชื่อ เขามี
จังหวะการเล่าเรื่องที่เฉียบขาด และที่สำคัญเรื่องเล่าของเขา
แพรว-พราวไปด้วยมุกตลก (...ไหนบอกว่าเป็นคนจริงจัง)

เราไม่แน่ใจว่าธนชาติตั้งใจหรือไม่ แต่ถ้าเปรียบให้เห็นภาพ
เราคิดว่าเขาคงเป็นมนุษย์ที่ชอบเล่นมุกตลกหน้าตาย พูดจา
แต่ละครั้งคู่สนทนาคงต้องคิดแล้วคิดอีกว่าเขาพูดจริงหรือ
เล่นมุก ยิ่งนำไปผสมกับเรื่องเล่าที่ชวนเหลือเชื่อในบางจังหวะ
ทำให้เราสงสัยว่าคนบ้าอะไรจะเจอแต่เรื่องที่มันชวนเหวอ
ตลอด นี่มันเรื่องจริงเหรอเนี่ย?!

แต่อย่าลืมว่าธนชาติเป็นคนจริงจัง

เราจะไม่ด่วนตัดสินธนชาติให้ทุกคนได้รู้จัก เพราะอีกไม่นานคุณ
ก็จะได้รู้จักเขาด้วยลีลาภาษาและเรื่องเล่าในแบบฉบับของ
เจ้าตัวเอง



Review
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกของผู้เขียนที่เป็นการเดินทางไปนิวยอร์กครั้งแรก
มีทั้งเหตุการณ์ที่ทั้งประทับใจ และเลวร้าย ไม่ว่าจะเป็น การโดนปล้นครั้งแรก
การได้ดูแข่งบาสเอ็นบีเอครั้งแรก สังหารกุ้งลอบสเตอร์ครั้งแรก(แต่ไม่ประสบความ
สำเร็จ) ตัดผมครั้งแรก เค้าดาวน์ที่ไทม์สแควร์ครั้งแรก เห็นหิมะครั้งแรก
มีเซกซ์กับฝรั่งคนแรก แลครั้งแรกอื่นๆอีกมากมาย แต่วันนี้ผมจะนำเสนอในตอน
พิเศษของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเข้ากับเทศกาลช่วงนี้เป็นอย่างดี

THE HAPPY HALLOWEEN
จากหนังสือ NEWYORK 1ST TIME


จากหนังสือ คำถามที่ผู้เขียนพบบ่อยที่สุดในเดือนตุลาคม
จนเบื่อคือ “ฮัลโลวีนไปไหน?”เพราะว่าวันสุดท้ายของเดือนนี้เป็น
วันปล่อยผี ตามประเพณีฝรั่งก็เลยจะพากันแต่งตัวเป็นผีออกไป
เที่ยวสนุกทั่วเมือง หลายรายไปเดินพาเหรด บางรายเข้าบาร์
บางรายไปปาร์ตี้บ้านเพื่อน

ก่อนที่จะมานิวยอร์คผู้แต่งได้คิดว่าฮาโลวีนคือการแต่งตัวแนวหลอนๆ
อย่างแม่มด ซอมบี้ หรือมัมมี่ แต่พอได้มาเจอกับตัวเองก็พบว่าความคิดเดิมๆ
ของฮัลโลวีนอย่างเรื่องวันปล่อย ‘ผี’ ถูกลดความสำคัญลงอย่างมาก
เพราะปัจจุบันมันกลายเป็นวันคอสเพลย์แห่งชาติไปเสียแล้ว ใครอยากจะ
แต่งอะไรก็แต่งได้ตามใจ จะตัวละครจากหนัง เกม การ์ตูน ข้าวของ
เครื่องใช้ (มีคนแต่งเป็นที่ชาร์จแบตฯ มือถือด้วยผู้เขียนกล่าว)

ผู้เขียนได้เล่าว่าตอนมานิวยอร์กปีแรก ได้แต่งตัวเป็นสมาชิกวงดนตรี
เฮฟวีเมทัล ใส่วิกผมยาว ทาหน้าขาวๆ แล้วออกไปปาร์ตี้บ้านเพื่อนใน
ย่านควีนส์ (Queens) แต่ในตอนนี้งานวันฮาโลวีนของผู้แต่งจะไม่
เหมือนครั้งก่อนหน้านั้นเพราะว่า

“เป็นวันฮาโลวีนปีแรกที่บ้านพักคนชรา”

วันนั้นผู้เขียนมีรับจ๊อบฟรีแลนซ์ถ่ายรูปตั้งแต่เช้าจนบ่าย พอทำงานเสร็จ
ผู้เขียนได้นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อไปทำงานอาสาสมัคร (volunteer) ที่งาน
ฮัลโลวีนในบ้านพักคนชราแห่งหนึ่ง หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมผู้เขียนถึง
ไปทำงานอาสาสมัครที่นี่? ผมก็สงสัยเหมือนกัน แต่ผู้เขียนได้บอกเหตุผล
ไว้ว่า

“เป็นความเคยชินส่วนตัวน่ะครับ เพราะบ้านในเมืองไทยของผมอยู่เขต
บางแค ทำให้พอถึงวาระสำคัญต่างๆ อย่างปีใหม่หรือสงกรานต์ ครอบครัว
ผมก็จะแวะเข้าไปที่บ้านพักคนชราในละแวกนั้นอยู่เสมอ (อ๋อ ไปรดน้ำดำหัว
อวยพรคนเฒ่าคนแก่ / ไปขโมยของบริจาค เยอะดีนัก / ถุย)”

คำตอบคือเป็นเพราะความคุ้นเคยกับบ้านพักคนชรา และตอนอยู่ไทยก็ทำ
กิจกรรมกับบบ้านพักคนชราบ่อย

To be continued


ขอขอบคุณ Forward จาก http://minimore.com/b/newyork-1st-time/1
ขอขอบคุณประสบการณ์ดีๆที่ได้นำมาบอกต่อ จากหนังสือ NEWYORK 1ST TIME
นิวยอร์กตอนแรกๆ, ธนชาติ ศิริภัทราชัย, สำนักพิมพ์แซลมอน


Bourne Astor
ผมชอบนะการได้อยู่กับผู้สูงอายุ เหมือนเค้าจะชอบเล่าประสบการณ์ในชีวิตให้เราฟัง แถมยังได้พลังบวกด้วยนะครับ พวกท่านน่ารักจริงๆ
Rosenah Adams
โรชอบเวลาคุยกับคุณย่าหรือคุณตาของโรมาก พวกท่านมีความน่ารักช่วยเหลือทุกอย่าง บางทีก็ดุแต่ก็ทำให้ด้วยความเต็มใจเรารักพวกท่านมาก หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่น่าจะเปิดประสบการณ์​หลายๆอย่างให้ผู้คนที่ไม่เคยไปอย่างโรได้รู้อะไรต่างๆอีกมากมาย โรจะตามไปอ่านนะคะ
Cyrus Devine Prince
สำหรับไซเหรอ ไซคิดว่าการอยู่กับคนที่ชรามันทำให้ไซอยากฟังเรื่องเล่านะคับ มันเหมือน .. ฟังนิทานล่ะมั้งคับ เหมือนหนังสือเล่มหนึ่งเนาะ เล่าเรื่องราวดีๆในชีวิต เรื่องที่เศร้า เป็นความทรงจำอ่ะคับ ความทรงจำดีๆที่พวกเค้ายังจำได้ เรื่องราวที่เป็นเหมือนนิทานเเต่มันคือเรื่องจริง ทุกอย่างที่ท่านๆนั้นชอบเล่าให้ไซฟังบ่อยๆ ไซว่า กิจกรรมที่ทำให้เราได้ใกล้ชิดกับคนชรามากขึ้นก็สนุกนะคับ มีความสุขเเถมไซยังได้พลังบวกด้วยล่ะ
Anastasia Shadowwalker
อ่านแล้วคิดถึงคุณยายที่บ้านเลยค่ะ
Elena Quinlan
ไม่เคยอ่านหนังสือแนวนี้เลย แปลกใหม่ และทำให้คิดถึงคนที่บ้านเลยค่ะ
Joachim Woler
ชอบภาษาที่เขียนออกมามากเลยครับ มีทั้งความน่าสนใจแล้วก็ชวนให้ติดตามมาก
Fera Safeera
ชอบมากกกกก
นี่คือหมวดอ่านเว็บบอร์ดแบบไม่มีกราฟฟิค : หมวดที่คุณสามารถดูข้อมูลได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องโหลดกราฟฟิคมากมาย ซึ่งบอร์ดได้ตัดส่วนนั้นออก เพื่อให้โหลดไวขึ้น
แต่ถ้าคุณอยากกลับไปดูข้อมูลแบบเต็มรูปแบบ ให้คุณคลิ๊กที่นี่
.
Invision Power Board © 2001-2024 Invision Power Services, Inc.