IPB

ยินดีต้อนรับ ( เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก )


 
Reply to this topicStart new topic
> สุริยุปราคา
Pietro Seras Bos...
โพสต์ Oct 19 2012, 11:17 PM
โพสต์ #1


นักเรียนฮอกวอตส์ปี 1

**




กลุ่ม : นักเรียนบ้านสลิธีริน
โพสต์ : 101
เข้าร่วม : 3-October 12
หมายเลขสมาชิก : 19,162
สายเลือด : เลือดบริสุทธิ์
เหรียญตรา


หีบสัมภาระ

ไม้กายสิทธิ์
ไม้: -- | ยาว: --
แกนกลาง: --
ความยืดหยุ่น: --

สัตว์เลี้ยง







สุริยุปราคา (Solar eclipse)



สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง สำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น

สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกล เพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ คือสุริยุปราคาวงแหวน เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552



ภาพจำลองแสดงการเคลื่อนที่ของเงาดวงจันทร์ขณะเกิดสุริยุปราคา


ชนิดของสุริยุปราคา
มี 4 ชนิด ได้แก่
  1. สุริยุปราคาเต็มดวง (Total eclipse) : ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
  2. สุริยุปราคาบางส่วน (Partial eclipse) : มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
  3. สุริยุปราคาวงแหวน (Annular eclipse) : ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
  4. สุริยุปราคาผสม (Hybrid eclipse) : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า




ที่มาข้อมูล : earthsky.org และ th.wikipedia.org


คุณ Madam Pince ได้แก้ไขข้อความนี้ ครั้งล่าสุดเมื่อ Feb 24 2017, 06:20 PM
Go to the top of the page
+Quote Post

Reply to this topicStart new topic

 



RSS Lo-Fi ; ประหยัดแบนวิธ,โหลดเร็ว เวลาในขณะนี้: 16th April 2024 - 03:47 PM